ไม่ต้องทนอีกต่อไป เมื่อ Facebook เปลี่ยนวิธีการตรวจข่าวปลอม

0
1682
(Last Updated On: January 11, 2018)

หนึ่งในสื่อ social media ที่มีคนใช้งานกันมากที่สุดก็คือ Facebook ใช่มั้ยหละครับ หรือมีใครจะเถียงแอดมินหละ ฮ่า ฮ่า โดยในช่วงปีที่ผ่านมานั้นทางทีมผู้พัฒนาได้ทำการเติม option สำหรับการแจ้งว่าข่าวที่อ่านกันอยู่นั้นเป็นข่าวปลอมหรือไม่ไว้ครับ หลายคนคงจะงงกันว่า ฮะ มีแบบนี้ด้วยหรอ มันมีนะครับแต่ในปัจจุบันนี้ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดายครับ ที่ทาง เฟสบุ๊ค ได้เอาระบบนี้ออกไปแล้ว เรามาดูกันเถอะครับว่าเพราะเหตุผลอะไรกันถึงได้นำออกไป 🙁

Facebook
arstechnica.com

ในแต่ละวันทุกคนคงเล่น Facebook กันเป็นปกติเหมือนเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตกันไปแล้ว และหนึ่งในการการใช้บริการแอปนี้นั้นก็คือการอ่านข้อมูลข่าวสารที่มีการอัพเดทกันอยู่แทบจะตลอดเวลา ไม่ว่าจะมาจากการที่เพื่อนๆ ในเฟสแชร์กัน หรือ จากเพจต่างๆ ที่แชร์กันจนเป็นเรื่องที่พบเห็นได้ทั้งวันในทุกวัน แต่การที่เราเสพข่าวสารเหล่านั้นมันก็จะมีทั้งข่าวที่เป็นข่าวจริง และ พวกข่าวปลอม ที่มีคนบางกลุ่มทำออกมาทำไมก็ไม่รู้ หรือ อาจเพื่อจุดประสงค์บางอย่าง ดังนั้นเฟสบุ๊ค จึงมีมาตรการในการกรองข่าวปลอมเหล่านี้ออกไปครับ

Facebook
nichemarket.co.za

ช่วงปีที่ผ่านมานั้นเฟสบุ๊ค ได้ทำการเพิ่ม option ที่มีชื่อว่า “disputed flags” (เป็นไอคอนสี่เหลี่ยมสีแดง) โดยการทำแบบนี้เป็นนโยบายในการระงับการแพร่กระจายของข่าวปลอมภายในเครือข่ายสังคมออนไลน์ ของทางเฟสบุ๊คครับ (อย่าคิดว่าเป็นเรื่องเล็กๆ นะครับ ข่าวปลอมบางข่าวส่งผลกระทบอย่างหนักและเป็นวงกว้างเลยนะ) โดยมีการตรวจสอบข้อมูลข่าวเหล่านั้นจากองค์กรตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยตรงเลย เราสามารถทำการติดไอคอนนี้ให้กับข้อมูลที่คิดว่าเป็นข่าวปลอมไว้ หลังการตรวจสอบของทางเฟสบุ๊คแล้ว ถ้าเป็นข่าวปลอมจริงๆ ระบบจะทำการติดไอคอนนี้ไว้ให้ครับ และจะไม่จัดลำดับความสำคัญเรื่องนั้นให้ (การไม่จัดความสำคัญทำให้เราไม่ค่อยพบเห็นข่าวนั้นบน new feed ครับ) พร้อมทั้งมีการแจ้งเตือนผู้ใช้ที่จะอ่านหรือแชร์ข่าวที่ถูกติดไอคอนไว้ ว่าเป็นข่าวปลอมอีกด้วย ดีสุดๆ ไปเลย แต่จากการตรวจสอบการทงานของระบบนี้ของเฟสบุ๊คพบว่า การทำแบบนี้ไม่ได้ช่วยอะไรมากนัก โดยให้เหตุผล 4 ข้อดังนี้ครับ

1.) เนื่องมาจากการที่ เฟสบุ๊ค เป็น Social media ที่มีขนาดใหญ่ ข้อมูลที่อยู่ในระบบมีคนอ่านเป็นจำนวนมาก ทำให้มีผู้ใช้งานมากมายได้อ่านข่าวเหล่านั้นไปก่อนแล้ว กว่าจะกรองข่าวเสร็จก็ทำให้มีผู้ได้รับข้อมูลแบบผิดๆ ไปเป็นจำนวนมากไปเรียบร้อยแล้ว

2.) บางครั้งในการตรวจสอบข่าวเหล่านั้น อาจมีภาพ หรือ ข้อมูล ที่ทำให้ให้ข่าวนั้นๆ ดูมีความน่าเชื่อถือเป็นอย่างมาก ซึ่งอาจทำให้ยากในการตรวจสอบข้อมูล

3.) ต้องใช้ตัวตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างน้อยสองตัว ดังนั้นจึงทำให้กระบวนการตรวจสอบล่าช้าครับ

4.) ใช้ได้กับเฉพาะเรื่องที่ถูกจัดว่าเป็นข่าวปลอมเท่านั้น ดังนั้นเรื่องที่เป็นข่าวปลอมบางส่วน หรือ ยังไม่ได้รับการยืนยัน จะไม่ถูกติดไอคอนนี้ไว้ครับ

Facebook
eschoolnews.com

นักข่าวคนนึงที่ทำงานร่วมกับเฟสบุ๊คได้ออกมากล่าวว่า “พวกเรามีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องข่าวปลอม และพวกเราต้องให้องค์กรอื่นช่วยในการตรวจสอบ เพื่อจัดการปัญหานี้ให้กับพวกเรา” แต่ในขั้นตอนการดำเนินการตรวจสอบนั้น เฟสบุ๊ค มีการให้ข้อมูลที่ไม่เพียงพอแก่ องค์กรตรวจสอบข้อเท็จจริง ทำให้การตรวจสอบข้อมูลนั้นเป็นไปได้อย่างยากลำบากและต้องใช้เวลานานมากๆ ในการจัดการแต่ละข่าวครับ นั่นแหละครับคงพอจะเป็นคำตอบให้พวกเราได้ว่าทำไมถึงเกิดการยกเลิกการทำแบบนี้ขึ้น

Facebook
mashable.com

Product Manager ของเฟสบุ๊ค คุณ Tessa Lyons ได้กล่าวไว้ว่า “บทความ รวมไปถึง ข่าวต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกัน หรือ มีเนื้อหาที่ขัดแย้งกันจากแหล่งต่างๆ จะถูกตรวจสอบและแก้ไขให้มีความถูกต้องมากที่สุด ซึ่งจากการวิเคราะห์ของเราพบว่าวิธีนี้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าแบบเดิมเพื่อช่วยให้ทุกคนได้รับข่าวสารที่เป็นความจริงมากที่สุด”

ต่อจากนี้ไปทางเฟสบุ๊คจะมุ่งเน้นในการตรวจสอบ และใช้ข้อมูลที่มาจากแหล่งข่าว หรือ บทความที่มีความน่าเชื่อถือเท่านั้น โดยจะจัดการให้เรียบร้อยก่อนที่ข่าว หรือ บทความนั้นๆ จะมาขึ้นโชว์บนหน้า feed ของเราให้ได้อ่านหรือกดเข้าไปครับ เพื่อให้ผู้ใช้บริการเช่น เราๆ ได้รับข่าวสารที่มีความน่าเชื่อถือและมีความถูกต้องแม่นยำมากที่สุด

Facebook
mashable.com

ในอนาคตอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรื่องนี้ของทาง เฟสบุ๊ค ขึ้นอีกก็ได้นะครับ ซึ่งทาง เฟสบุ๊ค เองก็มีการอัพเดทเกี่ยวกับการจัดการข่าวในหน้า Feed อย่างต่อเนื่องอยู่แล้วครับ เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้ประโยชน์และข่าวที่ถูกต้องมากที่สุดจากการใช้บริการ ถ้ามีข่าวอะไรน่าสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ แอดมิน จะนำมาเล่าให้ทุกคนได้ฟังกันอีกในโอกาสถัดไปอย่างแน่นอนครับ 🙂

cr. ขอบคุณข้อมูลจาก mashable.com ครับ 😀

 

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here